วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน


จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่จากรุ่นสู่รุ่นว่าบรรพบุรุษของตนเอง ที่มาตั้งรกรากอยู่ ณ บ้านเหมืองกุงแห่งนี้เป็นคนไท ที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองปุ เมืองสาด รัฐเชียงตุง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตรัฐฉานของประเทศพม่า โดยครั้งแรกมีเพียง 6 ครัวเรือน    จากประวัติศาสตร์บอกเล่าดังกล่าวได้สอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรต่าง ๆเช่น ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่พงศาดารโยนกและข้อมูลจากปั๊บสาต่างๆ กล่าวถึงการเกณฑ์กำลังคนจากพม่าและสิบสองพันนามาสู่อาณาจักรล้านช้างหลายครั้ง   ยิ่งในสมัยเชียงใหม่ฟื้นฟูอำนาจหลังจากตกอยู่ในอำนาจพม่าเป็นเวลานานกว่า 2 ศตวรรษ เมื่อปี ( พ..2325-2356 )สมัยพระเจ้ากาวิละแห่ง ต้นตระกูลเจ้าเจ็ดตนขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ยุคนั้นเรียกว่า เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง บรรพบุรุษของบ้านเหมืองกุงได้ถูกกวาดต้อนมา
จากเมืองปุ เมืองสาดให้มาตั้งรกราก ณ บริเวณหมู่แห่งนี้ โดยให้ทำนาเพื่อนำผลผลิตคือ ข้าวเปลือกส่งให้เจ้ากาวิโรรสสุริยวงค์ ( เจ้าชีวิตอ้าว)ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้ากาวิละ ซึ่งบริเวณพื้นที่นาอยู่ทางด้านทิศเหนือของหมู่บ้าน พอถึงฤดูเก็บเกี่ยว ชาวบ้านก็จะนำข้าวเปลือกใส่เกวียนไปส่งในตัวเมือง ปัจจุบันพื้นที่นาทั้งหมดกลายเป็นหมู่บ้านจัดสรรเวิลด์คลับ พอหมดฤดูทำนาชาวบ้านซึ่งมีอาชีพติดตัวมาด้วยคือ ช่างปั้น น้ำต้น( คนโฑ ) หม้อน้ำ เพื่อสำหรับใส่น้ำดื่มกินเพื่อขายและเป็นสังฆทานถวายวัด โดยแทบทุกครัวเรือนก็จะมีอาชีพเครื่องปั้นดินเผาปั้น

วัสดุ/อุปกรณ์


                                                                     

                                        1.ดินเหนียว




                                                                                     
                                       2. ไม้ไผ่ตัดในรูปแบบต่างๆ




                                           
                                                                                       
                                      3. แท่นปั้น (จ้าก)




                                                        4.หิน



                                                                                                      
                                                     5.ดินแดงทำให้ละเอียด




                                                     6.น้ำมันเบนซิน

ขั้นตอนการทำ


1.       ขุดดินที่จะนำมาปั้น( ดินที่ใช้จะเป็นดินเหลืองซึ่งจะหาได้ในหมู่บ้าน )นำไปตากให้แห้ง
2.       นำดินที่เราตากไว้ไปโม่ หรือทำให้ละเอียด จากนั้นนำไปผสมกับน้ำแล้วหมักทิ้งไว้ประมาท 1-2
วัน
3.       จากนั้นให้นำดินที่เราหมักไว้ไปเข้าเครื่อง เครื่องจะทำให้ดินออกมาเป็นก้อนๆแล้วเราก็เก็บห่อพลาสติกเก็บอีกประมาท1วันเพื่อให้ดินมีความเหนียวพอดีตามที่เราต้องการ
4.       นำดินที่เราห่อเก็บไว้ออกมานวดก่อนสักพอประมาทเพื่อให้ดินนั้นมีความอ่อนตัวลงเหนียวเหมาะสำหรับการปั้น
5.       จากนั้นนำดินไปวางบนแท่นปั้นแล้วทำการปั้นดิน การปั้นจะปั้นเป็นส่วนๆ โดยเริ่มจากส่วนล่างสุดของน้ำต้นขึ้นไปเรื่อยจนถึงการปั้นปากน้ำต้นซึ่งจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปั้นน้ำต้นการปั้นเราจะใช้อุปกรณจากไม้ไผ่ช่าวยในการปั้นเพราะจะทำให้ได้ความสม่ำเสมอของตัวน้ำมากกว่าเรราใช้มือโดยตรง
6.       พอเราปั้นน้ำต้นเสร็จแล้วเราก็จะทำการทาสีของน้ำต้นโดยการใช้สีของดินแดงซึ่งจะผสมกับน้ำมันเบนซินเพื่อตอนเราขัดตัวน้ำต้นจะได้เงางาม แวววาว
7.       หากเราทาสีเสร็จแล้วเราก็จะน้ำต้นไปตากโดยเราจะใช้เชือกหรือเส้นเอ็นเล็กตัดโคนน้ำต้นออกจากแท่นปั้นแล้วนำไปตาก
8.       การตาก เราจะตากให้แค่พอหมาดไม่ควรให้แห้งมากเพื่อในเวลาที่เราขัดน้ำต้นจะได้ความมันวาว การขัดสีของน้ำต้นเราจะต้องใช้หินที่ผิวเรียบขักเพื่อจะไม่ทำให้ผิวของน้ำต้นเป็นรอยในขณะขัด

9.       จากนั้นเราก็จะได้น้ำต้นที่เงางาม แวววาวพร้อมที่จะนำไปจำหน่ายได้






ภาพน้ำต้นในรูปทรงต่าง ๆ








ผู้ให้ความรู้/ปราชน์ชุมชน




นายวชิระ  สีจันทร์
ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
หมู่ที่ 7 ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่
โทร. 053-431715     085-6149914

คณะผู้จัดทำ





  1. นายดวงวรรณ         กดคำ                 55122730
  2. นายพิสิทธิ์             ตั้งภากรทรัพย์      55122734
  3. นายมงคล              สุวรรณทิพย์         55122736
  4. นายรัฐศาสตร์         ชูวงศ์ลี                55122737
  5. นายวิญญูชน          คชชีพ                 55122739
นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์  สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์